×
หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > รถควันขาว สาเหตุ และ วิธีแก้ไขเบื้องต้น
รถควันขาว สาเหตุ และ วิธีแก้ไขเบื้องต้น
Images/Blog/agA7RuLT-01 ใหม่.jpg
เขียนโดย sqdparts เมื่อ Wed 31 May, 2023
Like

สาเหตุของรถที่เกิดควันขาว

     เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้เลยกับปํญหาควันขาวที่ออกมาจากท่อไอเสีย ซึ่งอาการนี้บ่งบอกได้เลยว่ารถยนต์ที่คุณใช้ขับขี่อยู่ในทุก ๆ วันนั้น เริ่มจะเกิดปัญหาเข้าให้เสียแล้ว ซึ่งเป็นผลเสียอย่างมากหากไม่รีบแก้ไขให้ได้อย่างตรงจุด ดังนั้นมาดูกันว่าเรานั้นควรเริ่มที่จะโฟกัสอะไรกันก่อนบ้าง จาก 6 สาเหตุ  หลัก ๆ ของการเกิดควันขาวได้ ดังนี้

1. การเผาไหม้ของน้ำมันเครื่อง

     สาเหตุแรกเลยมากจากเรื่องของระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ส่งผลต่อน้ำมันเครื่อง เป็นในเรื่องอุณหภูมิที่ไม่สูงมากพอที่จำกระบวนการการเผาไหม้ ซึ่งเรียกกันว่า “การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์” ทำให้ควันที่ออกมาจากท่อไอเสียนั้น เจออุณหภูมิและความชื้นที่ต่ำกว่าจากภายนอก จึงก่อให้เกิดเป็นควันขาวขึ้นได้ และมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่สตาร์ทรถยนต์

2. เครื่องยนต์หลวม

     อีกหนึ่งจุดเลยที่ควรตรวจสอบก่อนหากเกิดควันขาวที่ท่อไอเสีย ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ตัวใดตัวหนึ่งอาจจะเกิดการหลวมอยู่ก็เป็นได้ ส่วนมากจะเกิดจาก กระบอกสูบหลวม เป็นสาเหุที่ทำให้ไม่สามารถกวาดน้ำมันเครื่องออกได้ ทำให้น้ำมันเครื่องถูกเผาไหม้ไปพร้อม ๆ กับน้ำมันเชื้อเพลิง กลายมาเป็นควันสีขาวในที่สุด ซึ่งจะสังเกตุได้ง่ายบริเวณท่อไอเสีย จะมีคราบน้ำมันที่เปียกเยิ้มออกมา

3. เทอร์โบมีปัญหา

     ใช่ว่ารถยนต์ทุกคันนั้นจะมีเทอร์โบ แต่ทว่ารถยนต์คันไหนก็ตามที่ติดตั้งเทอร์โบเอาไว้ ก็เป็นอีกเหตุผลที่ก่อให้เกิดปัญหานี้ได้เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะบอกว่าปัญหาคืออะไร มารู้กันเสียก่อนว่า “เทอร์โบ” นั้นคืออะไร

เทอร์โบ คือ อุปกรณ์ภายในรถยนต์ที่ถูกติดตังมาเพื่อเป็นระบบอัดอากาศ ที่จะคอยช่วยให้เครื่องยนต์นั้นมีกำลังแรงม้าที่สูงขึ้นพร้อมกับการเพิ่มอัตราเร่งเพิ่มขึ้นได้ในเวลาอันสั้น โดยที่ไม่ต้องเพิ่มขนาดของเครื่องยนต์และปริมาณของกระบอกสูบ ซึ่งเทอร์โบนั้นหากเกิดปัญหาขึ้น จะเกิดจากการที่เทอร์นั้นอาจเสื่อมสภาพจากการที่แกนหลวม ทำให้น้ำมันเครื่องนั้นไหลซึมออกมาจากตัวของเทอร์โบ ทำให้เกิดควันขาวได้ ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้โดยการ ถอดลูกเทอร์โบออกมาแล้วดูที่บริเวณ รูโข่งไอเสีย รวมไปถึงบริเวณพอร์ตไอเสียที่เครื่องยนต์ หากพบว่ามีการเปียกของน้ำมันแสดงว่าเกิดควันขาวนี้จากเทอร์โบอย่างแน่นอน

4. ชุดแหวนลูกสูบมีปัญหา

     การที่ชุดแหวนลูกสูบนั้นมีปัญหาหรือชำรุดนั้นเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการที่ทำให้รถยนต์นั้นมีควันขาวได้ โดยแหวนลูกสูบนั้นมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของน้ำมันเครื่อง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นน้ำมันเครื่องจึงไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้มากเกินไป ส่งผลให้ไม่สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง

5. ซีลฝาสูบรั่วซึม

     การที่ซีลของฝาลูกสูบนั้นเกิดการรั่วซึม อาจเป็นสาเหตุมาจากการใช้งานที่ยาวงาน ทำให้เสื่อมประสิทธิภาพกันไปตามอายุการใช้งานของแต่ละคน จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้รถยนต์นั้นเกิดอาการควันขาวได้ เนื่องจากน้ำมันเครื่องที่ถูกส่งไปหล่อเลี้ยงฝาสูบด้านบนรั่วซึมและเข้าสู่วาล์วและไหลเข้าไปเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถทำการเผาไหม้ได้เป็นปกตินั่นเอง

6. น้ำมันเครื่องรั่ว

     น้ำมันเครื่องที่อยู่ในฝาครอบวาล์วนั้นสามารถรั่วลงมาผ่านจากก้านวาวล์ ซีลก้านวาวล์ไอดี จากวาวล์ยัน ส่งผลให้วาวล์วปิดไม่สนิท หรือการเปิดปิด วาวล์ไอดีและไอเสียทำงานผิดพลาด จากการที่จังหวะจุดระเบิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป จึงส่งผลให้เกิดอาการควันขาวได้

 

แก้ไขอาการควันขาวได้อย่างไร

     จากสาเหตุมากมายที่ได้บอกไป เป็นอันดับแรก ๆ ที่เรานั้นจะต้องเข้าไปดูแลและบำรุงรักษา รวมไปถึงการตรวจเช็คเครื่องอย่างสม่ำเสมอ โดยมีวิธีป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดควันขาวได้ ดังนี้

1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

     น้ำมันเครื่องนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ควรที่จะต้องเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำอยู่แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่นำรถยนต์ไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องมักจะมีใบที่บอกไว้ว่าเลขกิโลเมตรอยู่ที่เท่าไหร่ควรนำมาเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องทุก ๆ 6 เดือนหรือทุก ๆ 8,000 – 10,000 กิโลเมตร เพื่อให้น้ำมันเครื่องมีความสดใหม่อยู่ตลอดเวลา นอกจากจะช่วยถนอมการใช้งานของเครื่องยนต์แล้ว ยังส่งผลให้เผาไม้ได้อย่างสมบูรณ์และควันไม่ขาวได้อีกด้วย

2. เปลี่ยนชุดแหวนลูกสูบ

     จากที่ได้บอกสาเหตุของชุดแหวนลูกสูบไปก่อนหน้านี้ อีกเหตุผลที่ทำให้ชุดลูกสูบเกิดการชำรุดเสียหายได้นั้น อาจจะมาจากการใช้งานที่ยาวนานเกินกว่าอายุการใช้งาน รวมไปถึงการลืมตรวจสอบเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอายุของชุดแหวนลูกสูบนั้น จะมีอายุอยู่ประมาณ 100,000 – 300,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการขับขี่ของแต่ละบุคคลด้วย เมื่อถึงอายุการใช้งานแล้วก็ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้รถยนต์นั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

3. เข้าศูนย์บริการ

     เพื่อความมั่นใจอย่างถึงที่สุด และเป็นการไม่เสียเวลา หากเราพบแล้วว่าในทุก ๆ ครั้งสตาร์ทเครื่องยนต์หรือระหว่างการขับขี่ สังเกตุเห็นได้ว่ามีควันขาวเกิดขึ้น อย่าชะล่าใจไป เพราะอาจจะทำให้เครื่องยนต์ของคุณเกิดความเสียหายตามมา รวมถึงอาจเกิดเพลิงไหม้จากบริเวณห้องเครื่องเลยก็เป็นได้ การนำรถยนต์เข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คและแก้ไขโดยช่างที่ชำนาญ ย่อมทำให้อุ่นใจทั้งผู้ขับขี่และรถยนต์อีกด้วย

 

                จะเห็นได้ว่าปัญหาควันขาวจากรถยนต์ ไม่ได้เกิดจากเทอร์โบเสียอย่างเดียว แต่อย่างใด อาจจะเกิดเครื่องยนต์หลวม น้ำมันเครื่องรั่ว  ฯลฯ รถยนต์ทุกคันย่อมต้องการการดูแลจากจากเข้าของรถอย่างทั่วถึงเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ภายในรถ ก็ควรที่จะเร่งแก้ไขให้อย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ได้อีกด้วย ทุก ๆ สาเหตุที่มีความเป็นไปได้ในการที่จะก่อให้เกิดอาการรถยนต์มีควันขาวขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครหลายคนกำลังพบเจออยู่ใน ณ ขณะนี้ เมื่อรู้ถึงสาเหตุแล้ว ให้นำไปปรับใช้และแก้ไขตามอาการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ท่านใดสนใจอยากได้คำปรึกษาเรื่องเทอร์โบรถยนต์ของท่าน หรือสอบถามเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของท่าน สามารถติอต่อสอบถามเรามาได้ ที่ บริษัท ความลิตี้ ดีเซล พาร์ท จำกัด

 

ขอบคุณรูปจาก autospinn.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์ และ ขายของออนไลน์ โดย © 2006-2024 Vevo Systems Co., Ltd.