×
หน้าหลัก > บทความประจำเดือน March 2024
บทความประจำเดือน March 2024
แสดง รายการ

     ระบบปรับอากาศในรถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในบ้านเรา เพราะหากวันไหนเกิดแอร์เสียขึ้นมา คงไม่มีใครสามารถทนขับรถท่ามกลางสภาพอากาศร้อนๆ ไปได้อย่างแน่นอน การดูแลรักษาระบบปรับอากาศอย่างถูกวิธีจึงถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

     เราจึงขอแนะนำ 5 พฤติกรรมต้องห้ามที่ไม่ควรทำกับระบบปรับอากาศในรถยนต์อย่างเด็ดขาด ดังนี้

 

1. นำการบูรหรือสารระเหยไว้ภายในรถ

     แม้ว่ากลิ่นของการบูรจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นถูกใจใครหลายคน แต่การบูรจะมีการระเหิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะถูกหมุนเวียนเข้าไปสะสมอยู่ในตู้แอร์ เมื่อรวมเข้ากับสิ่งสกปรกและความชื้น ก็จะทำให้คอยล์เย็นเกิดการอุดตันในที่สุด แถมยังเป็นจุดสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียชั้นดีอีกด้วย

2. ไม่เปลี่ยนไส้กรองแอร์เมื่อถึงเวลา

     เจ้าของรถหลายคนละเลยที่จะเปลี่ยนไส้กรองแอร์ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งไม่จำเป็น แต่ไส้กรองแอร์มักเป็นแหล่งสะสมฝุ่นเอาไว้ ซึ่งล้วนแต่เป็นอากาศที่เราหายใจเข้าไปทั้งสิ้น แถมอาจเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นภายในรถได้อีกด้วย ทางที่ดีควรเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งเมื่อถึงเวลา

3. ปรับระดับอุณหภูมิเย็นเกินไป

     การปรับอุณหภูมิของระบบแอร์ควรสัมพันธ์กับความแรงลมด้วย เพราะหลายคนเลือกที่จะปรับเฉพาะความแรงลมเท่านั้น แล้วปล่อยให้อุณหภูมิแอร์อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความชื้นสะสมอยู่ในตู้แอร์ แถมยังเป็นการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยใช้เหตุอีกด้วย

4. ปิดหน้ากากแอร์

     การปิดหน้ากากแอร์จะช่วยลดความหนาวเย็นลงได้จริง แต่นั่นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะการปิดหน้ากากแอร์จะส่งผลแรงลมของช่องแอร์ช่องอื่นเพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าปิดหน้ากากแอร์มากกว่า 1 ช่องขึ้นไป ก็อาจเป็นการเพิ่มความชื้นสะสมเข้าไปยังตู้แอร์ได้ ทางที่ดีควรใช้วิธีปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมแทนจะช่วยให้รู้สึกสบายตัวกว่า

5. เผลอกดรับอากาศภายนอกเข้ามา

     อันที่จริงในประเทศทางแถบยุโรปที่มีสภาพอากาศดี คนใช้รถมักเปิดรับเอาอากาศภายนอกเข้ามายังห้องโดยสาร เพราะจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น และลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ภายในรถลงได้ แต่สำหรับบ้านเรากลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะจะเป็นการรับสิ่งสกปรกทั้งฝุ่นควันเข้ามายังห้องโดยสาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทางที่ดีควรเปิดรับอากาศภายนอกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวในวันที่อากาศดีเท่านั้น

     การเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศในรถยนต์ได้ไม่มากก็น้อยครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Thu 28 Mar, 2024
อ่านต่อ

     คนใช้รถส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการนำรถเข้าคาร์แคร์เพื่อล้างสีรถให้สะอาดเอี่ยมเป็นอันดับแรก จนมองความรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยในตัวรถ แม้ว่าในการล้างรถแต่ละครั้งจะมีบริการดูดฝุ่นและทำความสะอาดห้องโดยสาร แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีจุดซ่อนเร้นอีกมากมายที่เป็นแหล่งรวมเชื้อโรคในรถคันโปรดของคุณ

 

     ผลการสำรวจพฤติกรรมคนใช้รถในยุโรปและเอเชียระบุว่า ในขณะที่เราล้างรถดูดฝุ่นกันเป็นประจำทุกเดือน และบางทีเดือนละหลายครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่เราลืมทำความสะอาดมันคือส่วนซ้อนเร้นต่าง ๆ ที่มีตัวเลขการทำความสะอาดเฉลี่ยปีละไม่ถึง 10 ครั้ง โดยเฉพาะพฤติกรรมคนใช้รถในบ้านเราที่มักจะนำอาหารและเครื่องดื่มขึ้นมากินบนรถกันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งนั่นเป็นที่มาของเชื่อแบคทีเรียและเชื้อราที่สะสมอยู่ในรถของคุณแบบไม่รู้ตัว โดยจุดที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากที่สุดในตัวรถมีดังนี้

 

ที่จับเปิด-ปิดประตูรถด้านคนขับ

     การที่รถใช้งานเป็นประจำนั้น ทำให้อุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้นในฝั่งคนขับ จะเป็นจุดที่ผ่านมือคนมากที่สุด หากไปสังเกตกันให้ดี มือจับเปิด-เปิดประตูด้านในรถฝั่งคนขับจะเป็นจุดที่เก่าเร็วที่สุด และยิ่งคันไหนที่จับเป็นเบ้าลึกลงไป ย่อมเป็นที่สะสมของเชื้อโรค ฉะนั้น ควรไปทำสะอาดมันซะเมื่อคุณได้อ่านบทความนี้แล้ว

 

ปุ่มเปิด-ปิดวิทยุ

     ลองไปสังเกตปุ่มเปิดและปิดเครื่องเสียงบนรถคุณ เชื่อแน่ว่าหากเป็นรถที่ใช้งานมานานระดับ 2 ปีครึ่ง จะเห็นได้ชัดเจนว่า ปุ่มดังกล่าวจะดูเก่าและสกปรกกว่าปุ่มอื่น ๆ เพราะเป็นปุ่มที่คุณต้องใช้งานมันทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่องเสียง ที่สำคัญในรถบางรุ่นมันคือปุ่มเดียวกับปุ่มเพิ่มและลดความดังของเสียง (Radio Volume) ด้วยนั่นเอง

 

พวงมาลัย

     นี่คือจุดที่มือของคุณต้องสัมผัสกับมันตลอดเวลา และยิ่งในบางครั้งหากคุณมีการหยิบของขบเคี้ยวขึ้นมากินและขับรถไปด้วย แน่นอนว่ามือที่สัมผัสกับพวงมาลัยก็จะทำให้เพิ่มความสกปรกมากขึ้นตาม โดยเฉพาะผิวสัมผัสของพวงมาลัยฝั่งที่อยู่ติดกับหน้ารถที่มักจะรอดสายตาในการทำความสะอาด มันจึงเป็นอีกหนึ่งจุดสะสมเชื้อโรคในรถของคุณ

 

ที่วางแก้วน้ำ

     รถยนต์ส่วนใหญ่จะมีที่วางแก้วน้ำอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างเบาะหน้าทั้ง 2 ด้าน ซึ่งบางคนอาจใช้เป็นที่ใส่ของ บางคนอาจใส่แก้วน้ำดื่มหรือแก้วกาแฟ บางคนอาจใช้เป็นที่ใส่เหรียญ ซึ่งรับประกันได้เลยว่า ตอนที่คุณนำรถไปล้างดูดฝุ่น จะทำความสะอาดอย่างไรจุดนี้ก็ไม่สะอาดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน

 

ปุ่มล็อกเข็มขัดนิรภัย

     อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เป็นประจำยามขับรถนั่นก็คือเข็มขัดนิรภัย เราอาจไม่เคยสังเกตมันเลยด้วยซ้ำโดยเฉพาะปุ่มปลดล็อกสีแดงว่านั่นคือจุดสะสมเชื้อโรค เนื่องจากมันมีซอกเล็กซอกน้อยจำนวนมาก และเป็นจุดที่ทำความสะอาดได้ยากที่สุดด้วยนั่นเอง

 

เบาะนั่งด้านคนขับ

     หากรถของคุณเป็นเบาะหนังสีดำหรือเบาะผ้าโทนเข้ม เราอาจไม่เคยได้สังเกตในจุดนี้ แต่หากลองเป็นเบาะหนังสีครีมแล้วล่ะก็ หากใช้รถเป็นประจำแค่ 1 เดือน จากสีครีมก็จะกลายเป็นสีอื่นทันที เพราะนี่คือจุดที่ต้องรองรับการนั่นที่ไม่รู้ว่ากางเกงของคุณไปนั่งที่สกปรกที่ไหนมาบ้าง ฉะนั้น เราควรใส่ใจทำความสะอาดเพราะนั่งด้วยเช่นเดียวกัน อย่างน้อยสัก 2 เดือนครั้งก็ยังดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Thu 28 Mar, 2024
อ่านต่อ

     แม้ว่ายางรถยนต์จะไม่ใช้ชิ้นส่วนที่ต้องเปลี่ยนบ่อยนัก แต่เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในระดับหลักหมื่นเสมอ จึงเป็นที่มาของ "ยางถอดป้ายแดง" ที่มีราคาถูกกว่ายางใหม่แบบครึ่งต่อครึ่งทีเดียว

 

ยางถอดป้ายแดง คืออะไร?

     ยางถอดป้ายแดงเกิดจาก เจ้าของรถใหม่ที่เพิ่งถอยออกมาจากโชว์รูมได้เพียงไม่นาน นำรถมาเปลี่ยนเป็นล้อแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนยางควบคู่กันไปด้วย (หรือบางกรณีเจ้าของรถต้องการอัปเกรดยางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น) ซึ่งร้านล้อแม็กเหล่านี้ก็จะรับเทิร์นยางมาขายในราคาต่ำกว่ายางใหม่ประมาณ 30-50% แล้วแต่สภาพยางแต่ละเส้น

 

     ข้อดีของยางถอดป้ายแดง คือ เป็นยางที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างน้อย สภาพยางและดอกยางยังคงใกล้เคียงกับยางใหม่ จึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่ายางเปอร์เซ็นต์ทั่วไป

 

     อย่างไรก็ดี ยางถอดป้ายแดงจะมีขนาดยางให้เลือกไม่หลากหลายนัก เนื่องจากเป็นไซส์ยางมาตรฐานจากผู้ผลิตรถยนต์ ดังนั้น หากเป็นขนาดยางที่ไม่ค่อยพบในรถป้ายแดงส่วนใหญ่แล้วล่ะก็ จะหายางเหล่านี้ได้ยากอยู่เหมือนกัน

ข้อควรระวังของยางถอดป้ายแดง มีอะไรบ้าง?

     แม้ว่ายางเหล่านี้จะผ่านการใช้งานมาน้อย แต่ก็ถูกใช้งานมาแล้วทั้งสิ้น จึงควรตรวจสภาพยางแต่ละเส้นว่ายังคงสมบูรณ์ ไม่ถูกปะ เบียด หรือบวมจนเสียสภาพ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้ รวมถึงควรเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ จะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลังนั่นเอง

 

     ดังนั้น หากใครต้องการประหยัดงบในการเปลี่ยนยาง ก็ลองดูตัวเลือกเหล่านี้เผื่อไว้เป็นทางเลือกก็ได้นะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Wed 27 Mar, 2024
อ่านต่อ

     ปัญหาจอดรถหน้าบ้านพักอาศัยผู้อื่น หรือ หน้าอาคารพาณิชย์ กลายเป็นปัญหาหนักหน่วงขึ้นทุกทีในสังคมไทย ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นรู้กันดีอยู่แล้วว่า ไม่สมควรจอดรถขวางหน้าบ้านพักอาศัยผู้อื่น หรือ หน้าอาคารพาณิชย์ที่ประกอบการค้าและมีรถเข้าออกประจำ

 

     แต่ถึงแม้จะรู้กันอยู่แก่ใจว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไม่สมควร หากหลายคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น มักจะใช้ข้ออ้างว่าจอดไม่นาน หรือประโยคสำเร็จรูปตำหนิเจ้าของบ้านหรือเจ้าของอาคารให้มีความผิดไปเลยว่า “ไม่มีน้ำใจ” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการจอดรถขวางทางเข้าออกอาคารนั้นมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522

     วิธีคิดว่าคนอื่นควรมีน้ำใจ ให้กับการเอาเปรียบของตนเองควรจะหมดหรือลดน้อยลงไปจากสังคมได้แล้ว ส่วนกรณีคุณป้าที่ออกมาทุบรถนั้นไม่มีใครสนับสนุนการใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว แต่คนในสังคมไทยส่วนหนึ่ง เมื่อทำได้หนึ่งครั้งแล้วไม่มีใครทำอะไร ก็จะทำครั้งต่อๆไปโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง แถมจะแปรเปลี่ยนความถูกต้องให้กลายเป็นของตนเองเพราะที่ผ่านมาไม่มีใครกล้าห้าม

     ถ้าอยากให้สังคมน่าอยู่กว่านี้ลองมาดูกันว่า พื้นที่ถนนตรงไหนบ้างที่เราจอดรถไม่ได้ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 57

 

1. บนทางเท้า หรือฟุตบาทสำหรับคนทั่วไปไว้เดิน

– ในความเป็นจริงทุกวันนี้บนทางเท้าเต็มไปด้วยการจอดรถจักรยานยนต์รับจ้างรถยนต์ที่หาที่จอดรถไม่ได้ บางที่มีเหล็กทำเป็นทางลาดเพื่อให้รถได้ขึ้นไปจอดบนทางเท้าเลยด้วยซ้ำ

 

2. บนสะพานหรืออุโมงค์

– ในความเป็นจริง ถ้าคุณมีโอกาสไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คุณจะเห็นรถจอดบนสะพานที่เชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งรถส่วนบุคคล และ รถแท๊กซี่ แม้จะรู้ว่าห้ามจอดแต่ยังจอด เพราะคิดแค่ว่า จอดรอแป๊ปเดียว

 

3. ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก

– ในความเป็นจริง ทางร่วมแยกนั้นหมายถึงทางที่ถนนสองเส้นมาบรรจบกันแล้วจะมีพื้นที่ตรงกลางลักษณะสามเหลี่ยมเรามักเห็นรถที่ยังไม่รู้ไปทางไหน มาจอดบนทางร่วมแยก และหลายคน ใช้ทางร่วมแยกในการถอยหลัง เพื่อกลับเข้าสู่เส้นทางที่ตนเองต้องการ นี่คือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด

 

4. ห้ามจอดในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม

– ในความเป็นจริง และกลายเป็นเรื่องปกติ เรามักเห็นรถจอดทับทางข้ามเลยด้วยซ้ำ

 

5. ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ

– ในความเป็นจริง คุณคงเห็นอยู่แล้วว่า เครื่องหมายห้ามจอด และขอบขาวแดง ไม่เคยทำให้คนเกรงกลัวได้ บางคันจอดแช่ไว้ชนิดข้ามคืนข้างป้ายเลยทีเดียว

 

6. ห้ามจอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง

– ในความเป็นจริง ไม่เคยมีรถคันไหนเว้นระยะได้สามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง เพราะทุกคนคิดว่าการจอดของตนเองอาจไม่นานและไม่น่าจะเกิดอะไร แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นมารถของคุณ จะถูกลากออกจากที่เกิดเหตุอย่างไม่ปราณีเลยทีเดียว

 

7. ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร

– ในความเป็นจริง ถ้าคุณมีโอกาสใช้ท้องถนนในช่วงค่ำคืนคุณจะเห็นทุกแยกไฟจราจรมีรถจอดอยู่หนึ่งคันเสมอ

 

8. ห้ามจอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน

– ในความเป็นจริงที่ของการรถไฟในกทม. แทบจะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ทองคำ และมีไม่น้อยที่ถูกใช้เป็นที่จอดรถเพราะเป็นพื้นที่ภายในตัวเมือง ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงถนนเลียบทางรถไฟมักกะสันดู แล้วคุณจะคิดออกว่า รถจอดบริเวณทางรถไฟผ่านนั้นเป็นอย่างไร

 

9. ห้ามจอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว

-ในความเป็นจริง คนที่คิดว่าจอดไม่นาน แป๊ปเดียวเอง จะมีอยู่มากกว่ามนุษย์ที่คิดถึงผู้อื่น กรณีจอดรถซ้อนคันจนทำให้คนอื่นออกไม่ได้นั้น ทำให้มีคนต้องติดคุก หรือ เข้าโรงพยาบาลกันมาแล้ว

 

10. ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถหรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ

– ในความเป็นจริง เรามักเห็นป้ายห้ามจอดรถกีดขวางหน้าบ้าน หลายต่อหลายที่ของกทม. ในหมู่บ้านที่ว่าหรูหรา ไปจนถึงหมู่บ้านของคนทั่วไป การจอดรถขวางหน้าบ้านผู้อื่นดูจะเป็นเหตุที่หลายคนจำใจยอมรับสภาพทั้งที่ในความจริงแล้วกำลังถูกเอาเปรียบจากคนผิด

 

11. ห้ามจอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง

เขตปลอดภัยหมายถึงพื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะ ข้ามทางต่อไปในความเป็นจริง แม้ป้ายสัญญาณจะชัดเจนแค่ไหน แต่เราก็จะเห็นคนจอดรถแบบเย้ยฟ้าท้ากฎหมายเลยทีเดียว

 

12. ห้ามจอดรถในที่คับขัน หมายความว่า ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวาง หรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้

– ในความเป็นจริง ถ้าคุณมีโอกาสไปเดินตลาดในกทม. คุณจะรู้ว่าพ.ร.บ ฉบับนี้่ไม่สามารถทำอะไรพวกเขาได้ และเหนืออื่นใด ตลาดนัดทั้งหลายนั้น ไม่รับผิดชอบด้วยว่าคนที่มาตลาดนั้นจะมีพื้นที่จอดรถตรงไหนบ้าง

 

13. ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและให้จอดเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร

– ในความเป็นจริง บริเวณป้ายรถเมล์นั้นมีทั้งรถนั่งส่วนบุคคล และ รถแท๊กซี่ จอดต่อแถวกันยาว ถ้าคุณไม่ชิน ลงไปซอยอารีย์แล้วคุณจะเป็นว่ารถเมล์นั้นไม่สามารถเข้าป้ายกันได้เลย

 

14. ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์

– ในความเป็นจริง ตู้ไปรษณีย์ เปรียบเสมือน จุดสังเกตให้กับรถที่กำลังมีคนขับเห็นแก่ตัว และหลายคนคิดว่าไม่ผิด แต่คงลืมนึกไปว่าการจอดของพวกเขานั้นจะทำให้บุรุษไปรษณีย์ นั้นลำบากแค่ไหน

 

15. ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

– ในความเป็นจริงคนที่อยู่ในซอย ประเภทรถสวนกันเลนเดียวนั้นเข้าใจได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรถคันข้างหน้าจะจอดรถเพื่อลงไปซื้อกล้วยทอด เพียงเท่านี้ก็ทำให้การจราจรในซอยเล็กๆ กลายเป็นอัมพาตได้แล้ว

 

     ทั้งนี้ 15 ข้อนี้เป็นพระราชบัญญัติที่ใครก็ฝ่าฝืนไม่ได้ โดยความผิดตามมาตรา 57 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และผู้ประสบเหตุตรงกับหนึ่งใน 15 ข้อสามารถแจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีได้เลย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Wed 27 Mar, 2024
อ่านต่อ

     แนะนำ 5 สัญญาณไฟเตือนจากรถบรรทุก ที่คุณอาจไม่เคยทราบความหมายมาก่อน แต่หากเข้าใจสัญญาณไฟเตือนเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ

 

5 สัญญาณไฟเตือนจากรถบรรทุกที่ควรรู้

  1. เปิดไฟเลี้ยวซ้าย-ขวาสลับกัน

แปลว่าด้านหน้าอาจมีอุบัติเหตุ จำเป็นต้องลดความเร็วลงกะทันหัน ทางที่ดีไม่ควรแซงขึ้นไป

 

  1. เปิดไฟเลี้ยวด้านซ้าย (บนถนน 2 เลนสวน)

แปลว่าคุณสามารถแซงรถบรรทุกที่ให้สัญญาณขึ้นไปได้ เนื่องจากมีระยะห่างจากรถที่สวนมาเพียงพอ ถึงกระนั้นก็ต้องใช้ความระมัดระวังในการเร่งแซงด้วย

 

  1. เปิดไฟเลี้ยวด้านขวา (บนถนน 2 เลนสวน)

แปลว่าห้ามแซง เนื่องจากมีรถที่วิ่งสวนมากระชั้นชิด หรือข้างหน้าเป็นทางโค้งอันตราย ไม่เหมาะสำหรับการแซง

 

  1. กระพริบไฟสูง หรือดับไฟหน้าแล้วเปิดใหม่ในขณะวิ่งสวนทาง

เป็นการแจ้งเตือนว่าข้างหน้าอาจมีอุบัติเหตุ หรือด่านตรวจ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเตรียมพร้อมลดความเร็วลงอย่างปลอดภัย

 

  1. เปิดไฟสูงขณะที่เราแซงขวา

เพื่อเป็นการช่วยให้เรามองเห็นเส้นทางข้างหน้าได้ชัดเจนมากขึ้น และจะดับไฟสูงลงเมื่อกลับเข้ามาในเลน

 

     เห็นไหมครับว่าสัญญาณไฟจากรถบรรทุกเหล่านี้มีประโยชน์มากกว่าที่คิด หากเราเข้าใจถึงความหมายและใช้ประกอบการตัดสินใจในการขับรถ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้มากขึ้นครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Sat 23 Mar, 2024
อ่านต่อ

     ในช่วงวันหยุดปีใหม่ 2566 นี้ หลายคนมีแผนขับรถไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อผ่อนคลายหลังจากทำงานหนักมาทั้งปี โดยเฉพาะการขับรถขึ้นไปรับอากาศหนาวเย็นบนยอดดอยต่างๆ แล้วทราบหรือไม่ว่าการขับรถลงเขาอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงเบรกไหม้จนควบคุมรถไม่อยู่ ควรเลือกใช้เกียร์ตำแหน่งใด? เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ

     การขับรถขึ้นเขาหรือยอดดอยไม่ใช่เรื่องน่ากังวลนัก เพราะขอแค่ผู้ขับขี่มีทักษะการขับรถขั้นพื้นฐาน และเครื่องยนต์ที่มีเรี่ยวแรงเพียงพอ ก็สามารถพิชิตเส้นทางขึ้นเขาแต่ละที่ได้อย่างสบาย หากแต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือการขับรถลงเขา หรือทางลาดชันยาวๆ เพราะลำพังการใช้เบรกเพื่อประคองความเร็วเพียงอย่างเดียว อาจเสี่ยงต่ออาการเบรกร้อนจัดจนควบคุมรถไม่อยู่ หรือที่ภาษาชาวบ้านพูดกันง่ายๆ ว่า “เบรกแตก” ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

 

     ตัวช่วยสำคัญในการขับรถลงเขาอย่างปลอดภัยนั่นก็คือ “เกียร์” ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นรถเกียร์ธรรมดา เกียร์อัตโนมัติ หรือกระทั่งเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ที่นิยมติดตั้งลงในรถรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน

 

     โดยปกติแล้วการขับรถขึ้นเขา ผู้ขับขี่สามารถใช้เกียร์ D เพียงเกียร์เดียวได้ โดยสมองกลเกียร์จะคอยปรับอัตราทดให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับความเร็วและความลาดชันของเส้นทาง หากเป็นผู้ขับขี่ที่เชี่ยวชาญก็สามารถปรับเกียร์ไปยังตำแหน่งรองลงมา (เช่น 3, 2, 1 หรือ L) เพื่อเรียกพละกำลังของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพการขับขี่ในขณะนั้นได้

     แต่การขับรถลงเขาเป็นระยะทางไกลๆ การใช้ตำแหน่งเกียร์ D เพียงอย่างเดียวจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูงโดยปราศจากแรงฉุดของเครื่องยนต์ หรือที่หลายคนคุ้นหูว่า “เอนจินเบรก” (Engine Brake) ภาระจึงตกไปอยู่กับระบบเบรกที่ต้องทำงานหนักกว่าปกติเพื่อประคองความเร็วไม่ให้สูงจนเกินไป เมื่อผ้าเบรกเสียดสีกับจานเบรกเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ชุดเบรกมีอุณหภูมิสูงจัด เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะไม่สามารถช่วยลดความเร็วลงได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเหยียบเบรกหนักแค่ไหนก็ตาม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแหกโค้งอย่างที่ปรากฏบนข่าวอยู่บ่อยครั้ง

     ดังนั้น การขับรถลงเขาควรเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ เช่น ตำแหน่งเกียร์ 3, 2, 1 หรือ L จะช่วยให้รถมีแรงฉุดจากเครื่องยนต์เข้ามาช่วยประคองความเร็ว ซึ่งระหว่างนี้รอบเครื่องยนต์จะพุ่งขึ้นสูงกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นอาการปกติ และจะไม่มีการฉีดจ่ายน้ำมันสู่ห้องเผาไหม้แต่อย่างใด หากรู้สึกว่ารถเริ่มไหลเร็วขึ้นก็ให้ค่อยๆ ลดตำแหน่งเกียร์ลงมา จนกว่าจะอยู่ในย่านความเร็วที่ปลอดภัย

 

     อย่างไรก็ดี หากเป็นเครื่องยนต์ดีเซลจะสามารถสร้างเอนจินเบรกได้มากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน ทำให้บางครั้งผู้ขับขี่แทบไม่จำเป็นต้องแตะเบรกเลยก็ได้ แต่หากเป็นเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็กตั้งแต่ 1,500 ซีซี ลงมาแล้วล่ะก็ จะเกิดแรงเอนจินเบรกค่อนข้างน้อย จึงควรใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และพยายามใช้ความเร็วต่ำตลอดการเดินทางครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

.

.

.

.

_____________________________________

เราคือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

เทอร์โบแท้

IHI TURBO 🇯🇵

GARRETT 🇺🇸

MITSUBISHI TURBOCHARGER 🇯🇵

ซื้อกับเราได้สินค้าแท้100%

คุ้มค่ากว่า ใช้งานได้ในระยะยาว

สบายใจกว่า เทอร์โบแท้รับประกันสินค้ายาวนาน

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

โดยทีมงานมืออาชีพ ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี”

สั่งอะไหล่กับเรา "ออกใบกำกับภาษี" ได้

พร้อมบริการการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน

⚙️เข้าชมสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์

คลิก: www.sqdparts.com

⚙️สั่งซื้อทางเพจ

คลิก: m.me/sqdparts

⚙️สั่งซื้อผ่านไลน์

คลิก: https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=sqdparts

คลิกYoutube : https://bit.ly/3IAJstu

คลิกTiktok : https://bit.ly/3bXmLmN

คลิกInstagram : https://bit.ly/3AFxMDx

เขียนโดย sqdparts เมื่อ Sat 23 Mar, 2024
อ่านต่อ
แสดง รายการ
ร้านค้าออนไลน์ และ ขายของออนไลน์ โดย © 2006-2024 Vevo Systems Co., Ltd.